top of page

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "ภาษา" ไว้ว่า ภาษา น. เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ คำพูด,ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๘๗)

    ภาษา คือ ระบบที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เป็นสัญลักษณ์ที่มีระเบียบแบบแผน ซึ่งเป็นที่ตลงยอมรับกันในหมู่สังคมมนุษย์ เป็นสื่อกลางของวัฒนธรรม พฤติกรรม และความคิดของมนุษย์ (พัชรี โภคาสัมฤทธิ์)

    ภาษาประกอบด้วย เสียง ตัวอักษร และความหมาย การจำแนกภาษาตามวิธีแสดงออกสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑.  วัจนภาษา  คือ ภาษาที่ใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

    ๒.  อวัจนภาษา  คือ ภาษาที่ใช้ท่าทาง อากัปกิริยา สีหน้าหรือแววตาช่วยสื่อความหมายแทนการใช้ถ้อยคำ

    อาจสรุปได้ว่า ภาษา คือ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมาย ทุกภาษาจะมีภาษาพูดก่อนภาษาเขียน บางภาษาไม่มีภาษาเขียน นักภาษาศาสตร์พบว่ามนุษย์มีภาษาพูดประมาณ ๓,๐๐๐ ภาษา ในขณะที่มีภาษาเขียนเพียง ๔๐๐ ภาษาเท่านั้น

 

ความสำคัญของภาษา

    คนไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติมานานกว่า ๗๐๐ ปีแล้ว ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นความภูมิใจ ถือเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยในชาติพึงหวงแหนรักษาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัชให้คนไทยเห็นความสำคัญของภาษาไทย ดังนี้

    "...ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง ถือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างยิ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเรา หลายประเทศมีมีภาษาของตนเอง ไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่ค่อยแข็งแรงเขาต้องพยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรยิ่งที่จะรักษาไว้..."

ศุกลวัฒน์ ภูสีดิน  2/5   เลยที่ 11                                                                                                         

Sukonwat Phusidin

m.2/5

No.11

bottom of page